ค่าเงินบาทแข็งค่าแรง หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐต่ำกว่าที่คาด

เงินบาท

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567 ค่าเงินบาทปิดตลาดเช้าวันนี้ (16/5) ที่ระดับ 36.23/36.24 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (15/5) ที่ระดับ 36.53/55 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางตามตลาดโลก

โดยในคืนที่ผ่านมากระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI ทั่วไปซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้นที่ระดับ 3.4% ในเดือน เม.ย.เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากที่เพิ่มขึ้นที่ระดับ 3.5% ในเดือน มี.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี CPI ทั่วไปปรับตัวขึ้นที่ระดับ 0.3% ในเดือน เม.ย. ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.4% หลังจากที่เพิ่มขึ้นที่ระดับ 0.4% ในเดือน มี.ค. ดัชนี CPI เดือน เม.ย.ที่ออกมาต่ำกว่าคาดเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐเริ่มเข้าสู่ช่วงขาลงในไตรมาส 2 ปีนี้

และทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. และปรับลดอีกครั้งในเดือน ธ.ค. ส่วนสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านปรับตัวลดลง 6 จุด สู่ระดับ 45 ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. และต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ระดับ 51

โดยได้รับผลกระทบจากการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต๊อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจลดลงที่ระดับ 0.1% ในเดือน มี.ค. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ หลังจากเพิ่มขึ้นที่ระดับ 0.3% ในเดือน ก.พ.และเพิ่มขึ้นที่ระดับ 0.7% ในเดือน มี.ค. ด้านสต๊อกสินค้าคงคลังภาคค้าปลีกเพิ่มขึ้นที่ระดับ 0.2% ในเดือน มี.ค. ขณะที่ภาคค้าส่งลดลงที่ระดับ 0.4% ส่วนยอดขายในภาคธุรกิจลดลงที่ระดับ 0.1% ในเดือน มี.ค.

สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ปัจจัยหนุนหลักมาจากการปรับตัวแข็งค่าอย่างมากจากระดับปิดตลาดวานนี้ โดยได้แรงหนุนจากการลงของดอกเบี้ยสหรัฐ ประกอบกับการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ หลังเงินเฟ้อสหรัฐชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าและต่ำกว่าคาดในเดือน เม.ย. เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐเริ่มเข้าสู่ช่วงขาลงในไตรมาส 2 ปีนี้ ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง

Advertisment

ทั้งนี้นักลงทุนยังคงจับตาการเปิดเผยตัวเลขเศษฐกิจอื่น ๆ เพื่อบ่งชี้ทิศทางภาวะเศรษฐกิจและการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดต่อไปโดยในระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 36.05-37.29 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 36.10/11 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (16/5) ที่ระดับ 1.0892/93 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (15/5) ที่ระดับ 1.0828/29 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยในคืนวันพุธที่ผ่านมา (15/5) ทางยูโรโซนได้มีการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 2.2% เมื่อเทียบรายปี และเท่ากับในเดือนมีนาคม และดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนเมษายน อยู่ที่ระดับ 0.5% เมื่อเทียบรายเดือน และเท่ากับในเดือนมีนาคม

และมีการเปิดเผยการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานอยู่ที่ 0.3% เมื่อเทียบรายไตรมาส และตัวเลขดัชนีจีดีพีอยู่ที่ระดับ 0.4% เมื่อเทียบรายปี โดยในระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0867-1.0794 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0870/74ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (16/5) ที่ระดับ 153.71/74 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (16/5) ที่ 155.83/86 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยได้แรงหนุนจากความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัว โดยในวันนี้ สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยการประมาณการเบื้องต้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หดตัวลง 2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งต่ำกว่านักเศรษฐศาสตร์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่าจะหดตัวลง 1.5% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ของญี่ปุ่นหดตัวลง 0.5% ซึ่งต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะหดตัว 0.4% การอุปโภคบริโภคซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจญี่ปุ่นลดลง 0.7% ในไตรมาส 1 ซึ่งมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอาจลดลง 0.2% โดยการอุปโภคบริโภคปรับตัวลงติดต่อกัน 4 ไตรมาส ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 โดยระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 153.61-154.87 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 154.71/77 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

Advertisment

ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (17/5), ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือน เม.ย. ของสหรัฐ (16/5), ราคานำเข้าและส่งออกเดือน เม.ย. (16/5), และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. (16/5)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -9.2/-9 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -9.45/-8.5 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ

Scroll to Top