ธปท. ประกาศชัดเลื่อนเก็บค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท หรือ DCC Fee 1% ออกไปไม่มีกำหนด ย้ำ คุยผู้ประกอบทุกรายต้องมีทางเลือกหรือช่องทางชำระให้ลูกค้า-ชี้แจงต้นทุนที่เหมาะสมและเป็นธรรม
วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการเก็บค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท (Dynamic Currency Conversion Fee) หรือ DCC Fee ว่า ล่าสุด ธปท.ได้มีการคุยกับผู้ประกอบการทุกราย โดยมีการให้เลื่อนเก็บค่าธรรมเนียม DCC Fee ออกไปอย่างไม่มีกำหนด
- จีนแบน 3 บริษัทสหรัฐ ห้ามทำการค้า ห้ามผู้บริหารเข้าประเทศ
- วิธีลงทะเบียนแอป ทางรัฐ ยืนยันตัวตน รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท
- เปิด 20 อันดับโรงพยาบาลดีที่สุดในไทย ปี 2567
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องมีการชี้แจ้งใน 2 ประเด็นหลักในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม DCC Fee 1% โดยผู้ประกอบการจะต้องมีทางเลือกในการชำระค่าบริการให้กับลูกค้า หากไม่ชำระด้วยบัตรเครดิต และอัตราการเรียกเก็บจะต้องเหมาะสม ซึ่งจะต้องชี้แจ้งที่มาที่ไปของต้นทุนในการเรียกเก็บ และเป็นธรรมกับลูกค้า
“ณ ตอนนี้ DCC Fee เลื่อนออกไปไม่มีกำหนด จนกว่าผู้ประกอบการจะสามารถทำได้ตาม 2 ข้อที่กล่าวไป”
อนึ่งก่อนหน้า ธนาคารพาณิชย์และผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (น็อนแบงก์) ได้ออกประกาศเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท Dynamic Currency Conversion Fee (DCC Fee)
โดยระบุว่า นับตั้งแต่ 1 พ.ค. 2567 เป็นต้นไป ทุกธนาคารจะเก็บค่าธรรมเนียมในการแปลงสกุลเงินต่างประเทศ เป็นสกุลเงินบาท ที่ 1% ของยอดใช้จ่าย หรือยอดกดเงินสดในสกุลเงินบาท สำหรับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตวีซ่า/มาสเตอร์การ์ด เพื่อชำระสินค้าและบริการด้วยสกุลเงินบาท
กรณีรูดบัตรในต่างประเทศ หรือรูดซื้อสินค้า จากร้านค้าในต่างประเทศ ร้านค้าออนไลน์ ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ก็จะต้องถูกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว