บทบรรณาธิการ
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาได้เกิดไฟไหม้โรงงานอุตสาหกรรมแทบจะทุกเดือน มีทั้งไฟไหม้โกดังเป็นวงกว้างขนาดใหญ่ไปจนถึงไหม้แบบจำกัดขอบเขตได้ เริ่มจากในปลายเดือนกุมภาพันธ์เกิดไฟไหม้ โกดังเก็บสารเคมีลักลอบที่นำมาทิ้งไว้และอยู่ระหว่างการทำลายจำนวน 4,000 ตัน ในพื้นที่ 5 โกดังที่ ต.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นข่าวใหญ่ที่สร้างผลกระทบให้กับผู้อยู่อาศัย
เนื่องจากเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติติดไฟและเป็นพิษ ต่อจากนั้นในวันที่ 7 มีนาคมก็เกิดไฟไหม้โรงงานแป้งมัน ของ บริษัทเจริญอินเตอร์สตาร์ช อ.บรบือ จ.มหาสารคาม และหลังจากนั้นเพียง 5 วันก็เกิดไฟไหม้ขึ้นที่ โรงงานผลิตซิปรายใหญ่ของ บริษัทไทยยูนิเทรด แฟคทอรี่ ที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ที่มีเชื้อเพลิงเป็นพลาสติกและด้าย
- จีนแบน 3 บริษัทสหรัฐ ห้ามทำการค้า ห้ามผู้บริหารเข้าประเทศ
- วิธีลงทะเบียนแอป ทางรัฐ ยืนยันตัวตน รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท
- เจ้าสัววิเชียร เตชะไพบูลย์ แลนด์มาร์ก 4 ไร่พันล้าน “สาทร” ศาลเจ้าใหม่ “ไต้ฮงกง”
ล่วงเข้าต้นเดือนเมษายนได้เกิดไฟไหม้ขึ้นที่โรงงานของบริษัทบี.เอ็น.เอส อุตสาหกรรมไม้ ที่ จ.สุราษฎร์ธานี จากเตาเผาถ่านชีวมวลผลิตจากขี้เลื้อยไม้เกิดระเบิดขึ้น มาถึงวันที่ 22 เมษายนใกล้จะสิ้นเดือนก็เกิดไฟไหม้ใหญ่ขึ้นที่โรงงานเก็บกากสารเคมีอุตสาหกรรมใน 3 โกดังของ บริษัทวินโพรเสสที่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ที่เป็นโกดังเก็บสารโซลเวนต์และทินเนอร์ปนเปื้อนรวมกันถึง 30,000 ตัน สถานะโกดังถูกปิดกิจการ โดยไฟไหม้ครั้งนี้กว่าจะดับสำเร็จมีความจำเป็นต้องอพยพชาวบ้านออกจากรัศมีโรงงานถึง 2 กม. มีผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากการสูดควันพิษเป็นจำนวนมาก
จนมาถึงเดือนพฤษภาคมก็เกิดไฟไหม้ขึ้นอีกที่ โรงงานผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกของ บริษัทปัญจพลไฟเบอร์ คอนเทนเนอร์ ที่ อ.เมือง สมุทรสาคร ล่าสุดก็เกิดไฟไหม้ใหญ่ขึ้นที่ โกดังเก็บสารเคมีอันตราย “ไพรโรไลลิสแก๊สโซลีน” ของ บริษัทมาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล ในเครือเอสซีซีที่ตั้งอยู่บริเวณท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง โดยบริษัทนี้ในอดีตก็เคยเกิดไฟไหม้มาแล้วครั้งหนึ่ง เพียงแต่ครั้งนี้ต้องสั่งอพยพผู้คนรอบบริเวณ มีผู้บาดเจ็บและยังมีผู้เสียชีวิตอีก 1 รายด้วย โดยการเกิดไฟไหม้โรงงานอุตสาหกรรมติด ๆ กันส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรมโรงงานอุตสาหกรรม ถูกตั้งคำถามถึงมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานอย่างเข้มข้น
จากปัจจุบันที่ผู้ประกอบการโรงงานจักต้องปฏิบัติตาม ประกาศการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานด้วยการตรวจสอบ ทดสอบ บำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ การจัดให้มีการอบรมป้องกันระงับอัคคีภัยแล้วส่งแบบรายงานตามที่กำหนดนั้น อาจยังไม่เพียงพอ สมควรที่จะต้องมีการยกเครื่องระบบการป้องกันและตรวจสอบใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ตรวจสอบโรงงาน Third Party และ การรับรองตนเอง (Self Declared) จะต้องได้รับการตรวจสอบซ้ำจาก กรมโรงงานอุตสาหกรรม อย่างครบถ้วนทุกโรงงานด้วย