10 เรื่องต้องรู้ ปมร้อน “เวียดนามส่งออกทุเรียนแซงไทย”

durian

“อัทธ์” นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เผยความเสี่ยงของทุเรียนไทย ชี้ 3 ปีข้างหน้าผลผลิตทุเรียนเวียดนามเท่าไทย โอกาสสูญเสียตลาดจีนสูง แนะไทยเร่งพัฒนาคุณภาพ เพิ่มแหล่งน้ำ ขยายตลาดไปยังอินเดีย สหรัฐอเมริกา เพิ่ม

วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 นายอัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และในฐานะที่ปรึกษาบริษัท อินเทลลิเจนท์ รีเสิร์ช คอนซัลแตนท์ (ไออาร์ซี) จำกัด เปิดเผยดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทยปี 2567 และประเมินทุเรียนไทยใน 5 ปีข้างหน้า พบว่าประเทศไทยมีโอกาสเสียแชมป์ให้กับเวียดนาม

เพราะในอีก 3 ปีข้างหน้าผลผลิตเวียดนามจะแซงหรือเทียบเท่าประเทศไทย ทำให้โอกาสที่เวียดนามจะส่งออกทุเรียนไปยังตลาดจีนเพิ่มขึ้น และประเทศไทยเองควรจะขยายตลาดส่งออกทุเรียนไปยังตลาดอินเดีย สหรัฐอเมริกา เพื่อลดโอกาสเสี่ยงสูญเสียตลาดให้กับเวียดนาม

ผลวิเคราะห์ทุเรียนไทยในปี 2567 และอีก 5 ปี

1.ส่งออกทุเรียนแซงหน้ายางพาราและมันสำปะหลัง

Advertisment

หลายปีที่ผ่านมาทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจหนึ่งเดียวที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก ในปี 2566 ทุเรียนมีมูลค่าส่งออก 1.4 แสนล้านบาท “แซงหน้ามูลค่าการส่งออกยางพาราและมันสำปะหลัง” แต่ยังเป็นรองมูลค่าการส่งออกข้าว มูลค่าการส่งออกทุเรียนคิดเป็นสัดส่วน 25% ของมูลค่าการส่งออกรวมของพืชส่งออกหลัก 4 ชนิด (ข้าว ทุเรียน ยางพารา และมันสำปะหลัง) อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกทุเรียนในปี 2567 ต้องลุ้นว่ายังสามารถรักษาระดับการส่งออกเหมือนในปี 2566 หรือไม่ เพราะมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน

2.ดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทย ปี 2567 และ 5 ปี มีความเสี่ยงสูง

ดัชนีความเสี่ยงทุเรียนไทย หรือดัชนี DURI (Durian Risk Index) ดัชนี “DURI” ปี 2567 อยู่ที่ 57 ซึ่งเป็นระดับที่ “มีความเสี่ยงสูง” เพราะเกิน 50 และค่าดัชนี DURI ใน 5 ปีข้างหน้ายังมีค่าเกิน 50 อย่างต่อเนื่องเช่นกัน เพราะมีความเสี่ยงจาก 7 ปัจจัยเสี่ยง โดยความเสี่ยงจาก 3 ปัจจัยหลักคือ การประสบภัยแล้งของเกษตรกร ตามด้วยการส่งออกทุเรียนเวียดนามที่เพิ่มสูงขึ้น และต้นทุนการขนส่งไปประเทศจีนที่เพิ่มสูงขึ้น

3.ช่วง 12 ปี ผลผลิตทุเรียนไทยเพิ่ม 180%

Advertisment

ระหว่างปี 2556 ถึงปี 2566 ทั้งพื้นที่ปลูกและผลผลิตทุเรียนเพิ่มขึ้นสูงมาก โดยผลผลิตทุเรียนเพิ่มจาก 5 แสนตัน เป็น 1.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 180% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการขยายผลผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 1,500% ในขณะที่พื้นที่ปลูกทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 80%

4.ภัยแล้งทำผลผลิตทุเรียนลดลง 50% ใน 5 ปีข้างหน้า

หากไม่มีการแก้ไขหรือจัดการภัยแล้งอย่างเป็นรูปธรรม คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าผลผลิตทุเรียนไทยจะลดลง 53% (จากสวนทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้วและผลผลิตใหม่) ผลผลิตจะหายไป 6.4 แสนตัน สำหรับปี 2567 ภัยแล้งจะทำให้ผลผลิตทุเรียนลดลง 42% ผลผลิตลดลง 5.4 แสนตัน

5.ผลผลิตทุเรียนเวียดนามเพิ่ม 200%

10 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตทุเรียนเวียดนามเพิ่มขึ้น 200% ปี 2566 เวียดนามมีผลผลิตทุเรียน 8 แสนตัน เพิ่มจาก 2.7 แสนตัน (ปี 2557) มีพื้นที่ปลูกเกือบ 7 แสนไร่ (6.8 แสนไร่) พื้นที่ปลูกทุเรียนเวียดนามร้อยละ 90 ปลูกในจังหวัดสามเหลื่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong River Delta) จังหวัดที่ปลูกมากที่สุดคือจังหวัดดั๊กลัก (Dak Lak) คิดเป็น 21% ของผลผลิตทั้งหมด ตามด้วยจังหวัดเตียนซาง (Tien Giang) และเลิมด่ง (Lam Dong) เป็นต้น

6.ปี 2567 เวียดนามส่งออกไปจีนเพิ่ม 30%

ไตรมาสที่ 1/2567 เวียดนามส่งออกทุเรียนไปจีนเพิ่มขึ้น 105% อยู่ที่ 36,800 ตัน ในขณะที่ไทยส่งออกในช่วงเวลาเดียวกัน 17,900 ตัน คาดว่าทั้งปี 2567 เวียดนามสามารถส่งออกทุเรียนไปจีนอยู่ที่ 5 แสนตัน ในขณะที่ไทยส่งออกอยู่ที่ 8 แสนตัน (ลดลงเกือบ 2 แสนตัน)

7.ต้นทุนการผลิตทุเรียนไทยสูงกว่าเวียดนาม 2 เท่า

ปี 2566 ต้นทุนการผลิตทุเรียนเวียดนามอยู่ที่ 15 บาท/กก. เพิ่มขึ้นเป็น 19 บาท/กก. ในปี 2567 ในขณะที่ต้นทุนการผลิตทุเรียนไทยเพิ่มขึ้น 10 บาท/กก.

8.อนาคต “ล้งทุเรียนไทย” ปิดตัว (เจ๊ง) เพิ่ม

ระหว่างปี 2565 ถึง 2567 ล้งจีนเพิ่มขึ้น 665 ราย ในขณะที่ล้งไทยปิดตัวจาก 25 ราย เหลือ 10 ราย และในอนาคตคาดว่าล้งไทยจะปิดตัวเพิ่มขึ้น เหลือไม่เกิน 5 ราย

9.ปี 2567 เงินธุรกิจทุเรียนไทยสะพัด “9.8 แสนล้าน”

ปี 2567 มีเงินสะพัด 9.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี’66 เท่ากับ 1.4 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16.2% เมื่อเทียบกับปี 2566 โดยภาคตะวันออกมีเงินสะพัดมากที่สุด รองลงมาคือภาคใต้ และภาคเหนือ ตามลำดับ ธุรกิจที่มีเงินสะพัดมากที่สุดคือธรุกิจล้ง จำนวน 280 แสนล้านบาท

10.ให้ “ภัยแล้ง” เป็นวาระแห่งชาติ “เร่งด่วนที่สุด”

1.ภัยแล้งปัญหาหลัก ปัญหาเร่งด่วนที่ประเทศไทยต้องรีบจัดการและแก้ไขโดยด่วนคือ การจัดหาและบริหารน้ำให้กับเกษตรกรทุเรียนและสินค้าเกษตรอื่น ๆ ให้มีน้ำเพียงพอตลอดทั้งปีการผลิต ไม่อย่างนั้นจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการผลิต รายได้ของเกษตรกร และราคาสินค้าที่แพงขึ้น

2.เน้นคุณภาพ ทุเรียนเวียดนามจะเป็นคู่แข่งสำคัญของทุเรียนไทยในอนาคต คาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า ทุเรียนเวียดนามจะผลิตใกล้เคียงกับทุเรียนไทย ทุเรียนไทยต้องหันมาเน้นคุณภาพและมาตรฐานเข้าสู้

Scroll to Top